มหายานยุคต้น
มหายานยุคต้นเป็นยุคที่มีแต่คำสอนทั่วไป หรือแนวคำสอนในลักษณะแปลกใหม่ ซึ่งยังหา การรับรองอย่างมั่นคงมิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหายานยังถือว่าคำสอนของฝ่ายตนนั้นได้รับการถ่ายทอดมาโดย ตรงจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า และได้รักษาไว้ในนาคะภพอย่างดี จนถึงอายุพุทธศาสนาผ่านไปถึง ๕๐๐ ปี จึงนำมาเผยแพร่เพื่อให้พระพุทธศาสนา รุ่งเรืองอีกต่อไป โดยคำสอนในยุคต้นนี้แยกออกเป็นประเด็นใหญ่ เช่น๑. อุดมการณ์แห่งพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์ตั้งปณิธานมุ่งเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ ถือว่าเป็นอุดมคติของ พระโพธิสัตว์ ซึ่งจะต้องตั้งไว้ในใจ ดังนี้
๑. พระโพธิสัตว์ต้องโปรดสัตว์ทั้งหลายให้หมดไป
๒. พระโพธิสัตว์ต้องละกิเลสทั้งหลายให้หมดไป
๓. พระโพธิสัตว์ ต้องศึกษาอบรมธรรมทั้งหลายให้เจนจบ
๔. พระโพธิสัตว์ต้องบรรลุพุทธภูมิให้จงได้
๒. บารมีธรรมของพระโพธิสัตว์
ในทางมหายาน คัมภีร์สมัยหลังจำนวนบารมีได้เพิ่มขึ้น จาก ๖ เป็น ๗ และในที่สุด เป็นบารมี ๑๐ ประการ คือ
๑. ทานปารมิตา (ทานบารมี) คำว่า ทาน แปลว่า การให้ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญความดี คือ การบริจาคสิ่งของตน คัมภีร์พุทธวงศ์ดังกล่าวเปรียบลักษณะการให้ไว้ว่า จะต้องเหมือนกับหม้อน้ำที่มีน้ำเต็มถูกคว่ำลง แสดงให้เห็นว่า การให้หรือการบำเพ็ญทานบารมีจะต้องทำด้วยการบริจาคหมดไม่มีเหลืออีก ดังนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์เมื่อจะให้ทาน จะต้องพิจารณาดังนี้
๑. ของที่จะให้ต้องเป็นของที่ดีงาม ต้องไม่ให้ของที่เป็นศาสตรา ของหลอกเล่น ของไม่เป็นประโยชน์ที่จะนำไปสู่ความประเภท
๒. เมื่อจะให้ทานต้องให้แก่ผู้ต้องการ แม้ไม่ได้ขอก็ให้ก่อนที่ผู้ต้องการนั้นจะขอ ต้องเป็นผู้สละให้อย่างจริง ๆ ต้องรู้จักให้พอควรแก่ของที่มีอยู่ ต้องไม่ให้อาหารและน้ำเกินประมาณแก่ผู้ขอที่เจ็บป่วย ให้ของควรแก่ของที่มีอยู่ ต้องไม่ให้อาหารและน้ำเกินประมาณแก่ผู้ขอที่เจ็บป่วย ให้ของควรแก่คฤหัสถ์แค่คฤหัสถ์ ให้ของควรแก่ของแกบรรพชิตแด่บรรพชิต ไม่ได้ให้เพราะถือมงคล ไม่ได้ให้ด้วยหวังผล เมื่อจะเป็นผู้ยิ้มแย้มเจรจาไพเราะกับผู้ขอก่อน ไม่ดูถูกผู้ขอ ถ้าจะให้ลูกเมียบ่าวไพร่ ต้องให้เขายินยอมก่อนแล้วจึงให้ เป็นต้น
๒. ศีลปารมิตา (ศีลบารมี) ศีลที่กล่าวถึงในคัมภีร์มหายาน แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเด็นด้วยกัน คือ
๑) กุศลกรรมบถ
๒) ศีลที่บำเพ็ญเมื่อเป็นคฤหิโพธิสัตว์
๓) ศีลที่บำเพ็ญเมื่อออกบวชสละบ้านเรือน
คัมภีร์ส่วนมากเมื่อกล่าวถึงการบำเพ็ญศีล มักกล่าวถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นส่วนใหญ่ เพราะย่อมครอบคลุมรายละเอียดความประพฤติได้ทั้งกาย วาจา และใจอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดีความคิดของมหายานที่ขยายออกไปต้องการเน้นประเด็น เช่น การทำทาน การช่วยเหลือผู้อื่นก็ย่อมจะทำให้การบำเพ็ญปารมิตานี้มี ข้อกำหนดในส่วนนั้นอยู่ด้วย จึงได้เกิดการบำเพ็ญปารมิตาของคฤหิโพธิสัตว์ (ดูรายละเอียดในศีลของคฤหิโพธิสัตว์ ) และในที่เมื่อกลับนิยมให้ พระโพธิสัตว์ออกบรรพชา จึงได้สร้างศีลขึ้นมาในทำนองเดียวกับสิกขาบทในพระปาติโมกข์ของพระภิกษุ
๓. กษานติปารมิตา (ขันติบารมี ) พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญความอดทนอดกลั้นในกรณีต่าง ๆแต่เดิมปารมิตานี้มิได้มีความสำคัญมากนัก ต่อมาในคัมภีร์รุ่นหลัง เช่น สมาธิราชสูตร เน้นเรื่องกษานติปารมิตามาก เพราะกษานติเป็นพื้นฐานสำคัญในอันที่จะให้จิตเป็นสมาธิหรือบำเพ็ญธยานปารมิ ตาได้๑๓
คัมภีร์ธรรมสังเคราะห์ได้จำแนกกษานติปามิตาเป็น ๓ ประเภทด้วยกันคือ
๑) ธรรมนิยานกษานติ การยอมรับความจริงของสภาวะด้วยปัญญา
๒) ทุกขาธิวาสนากษานติ อดกลั้นต่อความทุกข์ที่เกิดขึ้นในตน
๓) ปโรปการธรรมกษานติ อดทนในการที่จะประกอบกิจการช่วยเหลือผู้อื่น
กษานติ ๒ ประการหลังชัดเจนอยู่แล้ว กษานติประเด็นแรกถือเป็นกษานติอย่างสูงสุด เพราะต้องใช้ญาณทัสสนะอันถูกต้องจึงจะมองเห็นธรรมะต่าง ๆตามความเป็นจริงได้ พระโพธิสัตว์ ผู้บำเพ็ญกษานติประเภทนี้จะศึกษาธรรมะอย่างละเอียดลอออันจะก่อให้เกิดความ เสื่อมใสในพระคุณของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ รู้เหตุรู้ผลในทุกสิ่งทุกอย่าง กษานติประเภทนี้แบ่งชั้นเป็น ๓ ประเภทด้วยกัน ๑๕ คือ
๑. โฆษานุคา กษานติ พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำสอนจากผู้ใดผู้หนึ่งแล้วยอมรับคำสอนนั้น
๒. อานุโลมกี กษานติ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญตนตามพระธรรมวินัยและกระทำทบทวนตามคำสอนเหล่านั้นได้
๓. อนุปัตติกธรรม พระโพธิสัตว์เกิดชญานในธรรมและยอมรับว่าธรรมทั้งหลายมิได้มิการอุบัติขึ้น
อานุโลมกีกษานตินี้ในทศภูมิสูตรว่า เกิดขึ้นในภูมิที่ ๖ ส่วนอนุตปัตติกษานติเกิดในภูมิที่ ๘ ลักษณะ ของกษานติในชั้นหลังเป็นเสมือนการได้บรรลุฐาณะอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นการ บำเพ็ญ กษนติ คือ ความอดกลั้น อดทนอย่างธรรมดา โดยส่วนใหญ่แล้ว กษานติชนิดอื่นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญในภูมที่ ๓
๔. วิรยปารมิตา ( วิริยบารมี ) วิรยะ หมายถึง ความพากเพียร ความมีพลังที่จะบำเพ็ญธรรมเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า เป็นปารมิตาที่สำคัญในอันที่จะก่อพลังในการบำเพ็ญธรรมของพระโพธิสัตว์ถือ เป็นธรรมรากฐาน จนกระทั้งกล่าวว่าที่ใดมีวิรยะที่นั้นก็มีโพธิสัตว์แล้ว กล่าวว่าเป็นเหตุที่เป็นประธานของธรรมอันเป็นเป็นกุศลทั้งหลายของพุทธการก ธรรม พุทธการกธรรม บางครั้งก็เรียกว่า โพธิปริปาจนธรรม” ซึ่งหมายถึง ธรรมสำหรับบ่มเพาะภูมิ เป็นธรรมที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาพุทธภูมิจะต้องมุ่งบำเพ็ญ เพื่ออบรมบ่มให้พระพุทธภูมิ ถึงความแก่รอบจึงจะได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัม พุทธเจ้า
ความคิดในเรื่องการบำเพ็ญปารมิตานี้ก่อให้เกิดการเรียกพระโพธิสัตว์ว่าเป็น วีรบุรุษ เพราะเป็นว่าผู้มีความวิริยะอุตสาหะในการที่จะทำในการต่างๆ โดยไม่สนใจตนเองว่าเป็นอย่างไร วีรยะมี ๓ ประการด้วยกันคือ
๑. สัมมนาวีรยะ ความเพียรแรกเริ่ม
๒. ประโยควีรยะ ความเพียรในการบำเพ็ญ
๓. ปรินิษฐาวีรยะ ความเพียรที่นำไปสู่ความสูงสุด
การแบ่งวีรยปารมิตา ในลักษณะนี้ แบ่งตามช่วงเวลาของการบำเพ็ญจรรยาของพระโพธิสัตว์ เอช. ดายัลได้รวบรวมความคิดเรื่องวีรยปารมิตานี้ไว้เป็น ๓ ประการด้วยกัน คือ
๑. ความเพียรในการบำเพ็ญความดี พระโพธิสัตว์เป็นผู้ตั้งพระทัยมั่นในอันที่จะไม่ประพฤติในทางชั่วร้ายไม่พอ ใจต่อคุณความดีที่ทำได้เพียรเล็กน้อย แต่ตั้งพระทัยจะทำความดีให้มากเท่ากับพระโพธิสัตว์ในอดีต มีความพากเพียรที่จะทำความดีอยู่เป็นนิจ
๒. ความในการศึกษา (ศิกฺษาวีรฺย ) คำว่า ศึกษาในที่นี้หมายถึงไตรสิกขา และการหาความรู้อื่น ๆ ที่จะเป็นศิลปะศาสตร์ ) แต่เดิมในพุทธศาสนามหายานมิได้สนใจเรื่องนี้มากหนัก แต่ต่อมามีการกล่าวพระโพธิสัตว์ต้องเป็นผู้แตกฉานในคำสอนของพระพุทธเจ้า และมีการกล่าวถึง วิทยาสถาน ๕ ประการ คือ พุทธศาสน ,ตรรกศาสตร์หรือวิภาษวิธี , ไวยากรณ์ , แพทย์ และศิลปหัตถกรรมวิชาเหล่านี้จะช่วยพระโพธิสัตว์ในอันที่จะกลับใจคนให้มาถือ พุทธศาสนา รักษาป่วยและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นทางวัตถุได้ พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญศึกษาวีรยะจำต้องตั้งใจไม่ย่อท้อ และเรียนอย่างมีสมาธิ เพื่อที่จะให้มีความรอบรู้ดังกล่าว
๓. ความเพียรในการกระทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น (สตฺตฺวารถกฺริยาวีรฺย ) พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญสัตตวารถกริยาวีรยะเป็นผู้มุ่งมั่นในอันช่วยเหลือผู้ อื่น บากบั่นช่วยเหลือจนกระทั่งลุล่วง ไม่กระทำการใด ๆ ครึ่ง ๆกลาง ๆ ไม่เกรงกลัวอุปสรรคและภยันตราย เป็นผู้เห็นผู้อื่นเสมอตนและเห็นแก่ผู้อื่นก่อนตนเองเมื่อพระโพธิสัตว์ทรง พิจารณาเห็นดังนั้น ก็มีความต้องการช่วยเหลือผู้อื่นแม้สิ่งนั้นจะยากเย็นเพียงไรก็ตาม
พระโพธิสัตว์ผู้มีความเพียรดังกล่าว ย่อมสามารถบำเพ็ญธรรมะโดยไม่เหนื่อยหน่ายมีความสุขในอันจะบำเพ็ญธรรมะเหล่า นั้น จึงทำให้พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีพลังในอันที่จะทำความดีอยู่เสมอลักษณะเช่นนี้ เป็นลักษณะที่เติมจากวิริยะของคัมภีร์ดั้งเดิมซึ่งมีความหมายเป็นไปในทาง ความเพียรเพื่อเผากิเลสโดยแง่เดียว
๕. ธยานปารมิตา (ธยานบารมี) ธยาน หมายถึงหมายถึงการตั้งมั่นของจิต, สภาพที่ยังมนัส คือ อัธยาตมะให้ทรงไว้ซื่อ ว่า ธยานะ คำว่า ธยาน นี้ในคัมภีร์มหายานใช้เท่ากับ คำว่า สมาธิ เมื่อพิจารณาดูจากความหมายการบำเพ็ญยานปารมิตาจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้สละบ้าน เรือน นับเป็นการแยกพระโพธิสัตว์ออกจากสังคมในปารมิตานี้
การบำเพ็ญยานปารมิตาในพุทธศาสนามหายาน หมายถึง การบำเพ็ญสมาธิต่างๆเพื่อขจัดกิเลสเพื่อให้ได้บรรลุถึงความเป็นจริง ในกรณีนี้ เอช. ดายัล (H. Dayal ) ได้กล่าวถึงการบำเพ็ญยานไว้เป็น ๓ ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ขั้นเตรียมตัวเพื่อบำเพ็ญ ผู้บำเพ็ญจะต้องออกบวช และแสวงหาความวิเวกโดยการเจริญพรหมวิหาร ๔
ขั้นการบำเพ็ญธยาน ได้แก่ รูปธยาน ๔ อรูปธยาน ๔ หรือ สมบัติ ๔ และนิโรธสมาบัติ ซึ่งเหมือนกับการบำเพ็ญยานในคัมภีร์ดั้งเดิม
ขั้นการบำเพ็ญธยาน หรือสมาธิของมหายาน คัมภีร์มหายานได้เพิ่มสมาธิ มีชื่อต่าง ๆมากมาย เช่น วัชโรปมา รัตนมุทรา ประทีปะเตโชวตี ฯ ลฯ สมาธิเหล่า นี้เป็นทางไปสู่ความหลุดพ้นรวมทั้งทำให้มีฤทธิ์อำนาจ เช่น เหาะเหินได้ ช่วยบุคคลผู้เรือแตกได้สามารถทำให้เป็นหนุ่มอยู่เสมอ ฯ ล ฯ
ธยานปารมิตาของมหายานจึงกลายเป็นสิ่งที่ลึกล้ำยากแก่การอธิบาย เป็นของที่ผู้สละบ้านเรือนเท่านั้นอาจทำได้ อันเป็นข้อขัดอุดมคติทางสังคมของมหายาน ความข้อนี้แสดงให้เห็นได้ชัดลึกอีกขั้นหนึ่งว่า ธยานปารมิตา ก็คือ หน่วยสมาธิพรหมจรรย์ดั้งเดิมนั้นเอง
๖. ปรัชญาปารมิตา (ปัญญาบารมี) คำว่า ปรัชญา มีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า ปัญญา ในภาษาบาลี คือ หมายถึงความรู้อย่างยอดเยี่ยม เป็นความรู้ที่รู้สึกซึ้ง อันจะก่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงหรือความรอบรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ความภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง และได้ทำให้แจ้งในบุคคลศูนยตาและธรรมศูนยตา พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมแสวงหาวิชาความรู้ พอใจในการอบรมจิตให้ประกอบด้วยปัญญาอยู่เสมอ โดยไม่เลือกว่าให้ความรู้เป็นคนชั้นใด ท่านเปรียบน้ำใจของพระโพธิสัตว์ต่อการขวนขวายในปัญญาว่า เหมือนภิกษุผู้บิณฑบาตรับภัตตาหารเพื่อยังชีพ ย่อมไม่เลือกตระกูลสูง ต่ำ ไพร่ ผู้ดีของผู้ใส่บาตรฉะนั้น
ในพุทธศาสนามหายาน ได้เพิ่มอีก ๔ ประการ ถือเป็นปารมิตาเสริม เพื่อให้ครบกับภูมิธรรม ดังขยายภูมิธรรมที่อธิบายในทศภูมิสูตรเพื่อความเข้าใจดังต่อไปนี้
๑. ประมุทิตาภูมิ คือ ขั้นแห่งความยินดี บันเทิงทั่ว พระโพธิสัตว์จะมีความยินดีที่ได้เห็นเองเป็นผู้มุ่งต่อโพธิ และบำเพ็ญประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ มีความเคารพต่อการสักการบูชาพระพุทธเจ้ามีความคิดที่จะรักษาคุ้มครองพระธรรม และดำเนินตามพระธรรมของพระตถาคต ในภูมินี้เป็นการเริ่มต้นความคิดของพระโพธิสัตว์โดยตรง คือ มุ่งบรรลุโพธิและมีเมตตาที่ช่วยเหลือสัตว์โลกเป็นหลัก ในภูมินี้มีการบำเพ็ญทานบารมีเป็นหลักเพื่อขจัดความมัจฉริยะ
๒. วิมลาภูมิ คือปราศจากมลทิน หมายถึง มลทินแห่งความเป็นผู้ทุศีล มีความเอื้อเฟื้อ ไม่เห็นแก่ตัว เป็นผู้ประพฤติแต่สัมมาจริยา ในภูมินี้มีการบำเพ็ญศีลบารมีเป็นหลัก
๓. ประภาการีภูมิ คือ ขั้นแห่งผู้มีรัศมีแสงสว่าง พระโพธิขั้นนี้จะมีหน้าตาผ่องใสเป็นประกาย มีความเบื่อหน่ายต่อโลกียวิสัยอย่างมั่นคง มีความบากบั่นอดทน เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งทั้งหลาย รวมถึงอุทิศตนเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยอย่างจริงจัง ในภูมินี้มีการบำเพ็ญขันติบารมีเป็นหลัก
๔. อรรถจีสมภูมิ คือ ขั้นสุกสว่าง เปล่งรัศมีออกไป พระโพธิสัตว์ขั้นนี้มีความเพียรกล้าในการทำลายความคิดที่ชั่วร้ายออกหมด คือ ไม่ถือตัวถือตน และเพียรกล้าในการบำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อผู้อื่น ในภูมินี้มีการบำเพ็ญวิริยบารมีเป็นหลัก
๕. สุทุรชยาภูมิ เอาชนะได้อยากพระโพธิสัตว์ขั้นนี้ต้องทำกิจที่ ยาก ๒ อย่าง คือเป็นผู้สั่งสอนสัตว์โลกและบำเพ็ญจิตของตนให้แน่วแน่ ในภูมิมีการบำเพ็ญฌานบารมีเป็นหลัก
๖. อภิมุขีภูมิ หมายความว่า มีหน้ามุ่งไปสู่ พระโพธิสัตว์ขั้นนี้ต้องกล้าเชิญหน้ากับโลกแห่งความเป็นจริงตลอดเวลา มีความเข้าในในหลักปฏิจจสมุปบาท ในภูมินี้มีการลำเพ็ญปัญญาบารมีเป็นหลัก
๗. ทูรังคมาภูมิ แปลว่าไปไกล ไปได้ยาก พระโพธิสัตว์ขั้นนี้ต้องใช้สติปัญหามาก มุ่งหาอุบายโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ ในภูมินี้มีการบำเพ็ญอุปายบารมีเป็นหลัก
๘. อจภูมิ แปลว่า ผู้ไม่หวั่นไหว พระโพธิสัตว์ขั้นนี้มีความไม่หวั่นไหว เรรวน มีจิตใจแน่วแน่มั่นคง และย่อมรู้ตัวเองว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระโพธิ์สัตว์ภูมินี้ย่อมไม่ตกไปสู่ที่ต่ำอีกเป็นผู้เข้าถึงแดนพุทธเกษตร ในภูมินี้มีการบำเพ็ญปณิธานบารมีเป็นหลัก
๙. สาธุตีภูมิ แปลว่า ผู้มีความคิดที่ดีงาม เป็นผู้ปราศจากอคติ มีการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสัตว์โลกทุกถ้วนหน้า พระโพธิสัตว์ขั้นนี้มีปัญญาสมบูรณ์แล้ว รู้ความคิดความปรารถนาทั้งหมดของมวลมนุษย์ สามารถสั่งสอนสรรพสัตว์ให้เข้าถึงนิพพานได้ ในภูมินี้มีการบำเพ็ญพลบารมีหลัก
๑๐. ธรรมเมฆา หมายเอา ความสูงสุดของธรรม พระโพธิสัตว์ขั้นนี้มีอิสรเสรีไม่ผูกติดกับสิ่งทั้งปวงมีสมาธิและธารณีอยู่ เต็มเปี่ยม ประดุจเมฆที่ล่องลอยอยู่เต็มบนท้องฟ้าอย่างเสรี ถึงฐานะอันยอมเยี่ยมเท่าเทียบกับพระพุทธเจ้า ได้รับอภิเษกจากพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้าและสามารถแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
ดังจะเห็นได้ว่า ภูมิธรรม ทั้ง ๑๐ ประการนี้ มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับปารมิตาทั้ง ๔ ที่เสริมเข้ามาเพื่อให้ครบกับภูมิธรรมที่กำหนดไว้ ดังนั้น ลักษณะของปารมิตาทั้ง ๔ นี้เป็นเรื่องคุณสมบัติมากกว่าจะเป็นเรื่องของการบำเพ็ญความดี และ มิได้มีความสำคัญเสมอกับ ๖ ประการข้างต้น ดังนี้
๗. อุปายเกาศัลยปารมิตา (อุปายบารมี) หมายถึง ความเป็นผู้ฉลาดในการจัดการเรื่องราวต่าง ๆ รวมทั้งความรู้ที่แตกฉาน การมีสมบัติดังกล่าวก็เพื่อจะให้พระโพธิสัตว์มีความสามารถในการการชี้บอก สั่งสอนชาวโลกผู้มีพื้นฐานต่าง ๆ กันไปให้สามารถเข้าถึงธรรมที่แท้ได้ ดังนั้น การจะเป็นผู้สามารถสั่งสอนให้เข้าใจนั้น ต้องมีอุปายโกศลอันประกอบไปด้วย
๑) สังคระหวัสดุ (สังคหวัตถุ) ได้แก่ ทาน ปริยาวาทิตา (ปริยวัทย) อรรถจรรยา (อรรถกริยา) สมานารถตา
๒) ประติสัมวิท (ปฏิสัมภิทา) ได้แก่ ธรรมประติสัมวิท อรรถประติสัมวิท นิรุกติประติสัมวิท ประติภานประติสัมวิท
๓) ธารณี หมายถึง มนต์ที่ใช้ท่องบ่นคุ้มกัน พระโพธิสัตว์ผู้สั่งสอนเทศนาผู้อื่นต้องเป็นผู้ปราศจากภัยอันตราย ธารณีจะเป็นสิ่งที่คุ้มกันพระโพธิสัตว์ให้ปลอดภัย
พระโพธิสัตว์ผู้มีสมบัติทั้ง ๓ ประการนี้ครบ ย่อมจะเทศนาสั่งสอนให้บรรลุจุดหมายตามที่ประสงค์เพราะมีทั้งคุณธรรมที่เข้า กับผู้อื่น มีความสามารถแตกฉาน และมีมนต์ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ
๘. ประณิธานปารมิตา (ปณิธานบารมี) หมายถึง ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ต่อหลักการหรืออุดมการณ์ของตนความตั้งใจมั่นที่จะ เป็นพระพุทธเจ้านั้น ย่อมปรากฏในทุกขั้นของการบำเพ็ญตนเป็น พระโพธิสัตว์ ความต้องการเน้นเป็นเหตุให้ยกประณิธานขึ้นเป็นความดีสูงสุด ปณิธานบารมีของพระโพธิสัตว์ ที่ตั้งไว้มี ๔ อย่าง คือ
๑) เราจะต้องโปรดสัตว์ทั้งหลายให้หมดสิ้น จะสัตว์เหล่านั้นให้พ้นทุกข์ พระโพธิสัตว์กำหนดรู้ทุกข์แห่งตนแล้ว เอาตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ ย่อมเห็นชัดแจ้งว่าสัตว์เหล่าอื่นก็เต็มไปด้วยทุกข์เช่นกัน เหมือนคนไข้ที่อยู่ในโรงพยาบาลเดียวกัน คือ โลกนี้
๒) เราจะต้องทำลายกิเลสให้หมดสิ้น และจะช่วยผู้อื่นให้ทำลายกิเลสด้วย เหมือนคนเป็นโรคอยู่ด้วยกัน เห็นพิษร้ายของโรคแล้ว ช่วยการทำลายโรคนั้นเสีย
๓) เราจะต้องศึกษาพระธรรมทั้งหมดให้เจนจบ และช่วยให้ผู้อื่นได้ศึกษาด้วย เปรียบเหมือนการศึกษาวิธีป้องกันและวิธีจำกัด ใครศึกษาล่วงหน้า ไปก่อน ต้องพยายามช่วยผู้อื่นที่เริ่มศึกษาภายหลัง
๔) เราจะต้องบรรลุพุทธภูมิให้จงได้ และจะช่วยเหลือผู้อื่นให้บรรลุด้วยเปรียบเหมือนผู้มุ่งการหายโรคด้วยตนแล้ว ปรารถนาช่วยเหลือผู้อื่นให้หายโรคด้วย
๙. พลปารมิตา (พลบารมี) คือ ความสามารถในการเข้าใจในธรรมตามเหตุผลและความเข้าใจในธรรมที่ตนเองอบรม บำเพ็ญมา หมายถึง กำลังความแน่วแน่ในเรื่องทั้งตั้งใจไว้ รวมถึงการที่ได้ฟังพระสัทธรรมแล้วมีโยนิโสมนสิการตามแล้วก็ได้บรรลุอนุตตร โพธิญาณ แล้วนำเอาหลักธรรมเพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ให้เข้าถึงความจริง
๑๐. ชญาณปารมิตา (ชญาณบารมี) หมายถึง ญาณอันเกิดแต่บารมี ๖ เป็นปัญญาระดับสูงเป็น โลกุตตรปัญญา หรือญาณหยั่งรู้แจ้งในสรรพสิ่ง
บารมี ๔ ประการนี้ สงเคราะห์เป็นปัญญาบารมีทั้งหมดดังนั้น บารมีที่สำคัญจึงเหลือเพียง ๖ ข้อข้างต้นเท่านั้น
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าบารมีในพุทธศาสนามหายานแต่เดิมมี ๕ ประการ และค่อย ๆ พัฒนาได้รับการเพิ่มจำนวนเป็น ๖ เป็น ๗ และในที่สุดเพิ่มเป็น ๑๐ ในบารมี ๑๐ บารมี ๖ ประการแรกเป็นบารมีหลัก อีก ๔ ประการหลังเป็นบารมีเสริม สาเหตุที่เกิดการเพิ่มเติมจำนวนบารมีในพุทธศาสนามหานั้น สันนิฐานต่างกันเป็นสองทาง คือ
๑. ได้อย่างมาแต่บารมี ๑๐ ในพุทธศาสนาเถรวาท
๒. เป็นการเพิ่มเติมขึ้นเพื่อให้เข้ากับระบบนับสิบ
นั้นไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง ท่านกล่าวว่าสาเหตุของการเพิ่มจำนวนบารมีมากขึ้นในภายหลังเป็นเพราะ วิวัฒนาการความคิดเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ของมหายานเอง ที่ภายหลังแนวคิดเรื่องพระโพธิสัตว์มีอิทธิพลที่สำคัญถือเป็นแนวคิดหลัก ของมหายาน เมื่อพิจารณาดูปารมิตาของมหายานแล้วจะเห็นว่าปรัชญาปารมิตานั้นได้แก่ ศูนยตา ประเด็นที่ขาดหายไป คือ ปัญญาความเฉลียวฉลาดความมีปัญญาในอันจะสอนผู้อื่นและลักษณะสัพพัญญูขาดหาย ไป จึงจำเป็นต้องนับเอาอุปายเกาเข้าเป็นปารมิตา ปณิธานเดิมเข้ามา เพื่อเน้นความตั้งใจช่วยเหลือผู้อื่น ด้วยระยะหลังพระโพธิสัตว์ได้พัฒนาไปในลักษณะของเทพเจ้า พลและ ชญาณ อันเป็นคุณสมบัติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า จึงเติมเข้ามาเพื่อให้พระโพธิสัตว์มีอำนาจเท่าเทียมกับพระพุทธเจ้า เพื่อจะได้มีอำนาจช่วยผู้อื่นได้ แม้ยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าดังนั้น พุทธศาสนามหายานยอมรับบารมี ๖ ของเถรวาทสรวาสสติวาทิน และต่อมาเพิ่มจำนวนเป็น ๗ และ ๑๐ ตามลำดับ เพื่อให้ครบคุณสมบัติของพระพุทธเจ้ามากกว่าเพื่อแสดงการบำเพ็ญธรรมะ
๓. การเคารพบูชาโพธิสัตว์ กามเทวี และอื่น ๆ
ในยุคพราหมณะ พราหมณ์ได้สร้างพระพรหมที่เรียกว่า ปรพรหม ให้ไม่มีเนื้อมีตัวมีตนนั้น พระพรหมมีลักษณะเป็นจิต และจิตก็ไม่มีรูปร่างอย่างมนุษย์เป็นนามธรรม เมื่อเทพเจ้าคือพระพรหมมีลักษณะเป็นจิต การบวงสรวงบูชาเพื่อขอให้อำนวยผลประโยชน์ต่าง ๆ ตามวิสัยของพวกปุถุชนย่อมไม่สามารถกระทำได้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยประสาทสัมผัส ก็ไม่เป็นที่ชอบใจพอใจของ คนทั่วไปเท่าใดนัก คนไม่เห็นด้วย เพราะไม่สามารถจะบูชาปรพรหม ซึ่งเป็นสภาวธรรมนั้นได้ ไม่รู้ว่าเป็นอะไร
ดังนั้น เพื่อให้ตรงกับความประสงค์และรสนิยมของประชาชน พราหมณ์จึงดัดแปลงแก้ไขเรื่อง พรหมอีกนิดหน่อย แก้ไขจากพรหมมาเป็น อปรพรหม อปรพรหม ก็คือพรหม หรือ อิศวร เป็นเทพเจ้าที่มีตัวมีตน ไม่เป็นนามธรรมเหมือนอย่างปรพรหม สามารถจะอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้เคารพบูชาได้ พวกพราหมณ์นั้นฉลาดปรับปรุงพระเจ้าให้ทันสมัยใหม่อยู่เสมอ แล้วจึงประกาศแก่ประชาชนว่า ความจริงพระพรหมนั้นมีตัวตนและมีถึง ๔ หน้า ๘ กร สามารถมองดูทิศทั้ง ๔ ได้ในเวลาเดียวกัน และดูความเป็นไปของชาวโลกได้ทุกหนทุกแห่งพร้อมกันได้ ช่วยชาวโลกได้มากกว่า เมื่อพระพรหมมีตัวตน และยังมีถึง ๔ หน้าอีก แถมยังไม่มีภรรยา ไม่ยุ่งเกี่ยวข้องด้านกามารมณ์เหมือนพระอินทร์ ประชาชนต่างก็นิยมชมชอบพอใจ แนวความคิดของพราหมณ์ที่สร้างพระพรหม เป็นที่พอใจของประชาชนนี้เอง ทำให้ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลเหนือจิตใจของชาวอินเดียอย่างไม่เสื่อมคลาย
ขบวนการของการเคลื่อนไหวพระพุทธศาสนามหายานก็เป็นเช่นเดียวกัน ความต้องการไม่อยากเป็นพระพุทธเจ้าดับสูญมีกำลังแรงมาก แรงจนกระทั่งแม้เมื่อก่อนที่จะแตกแยกออกเป็นมหายาน ผู้รู้ในทางพระพุทธศาสนา ก็ต้องคิดหาวิธีการที่จะทำความพอใจให้แก่คน ลงท้ายก็ต้องสร้างลัทธิขึ้นมาว่า พระพุทธเจ้านั้นมิได้มีองค์เดียว แต่ยังมีอีกหลายพระองค์ที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้า จึงได้เกิดมีพระพุทธเจ้าในอนาคตขึ้น พระพุทธศาสนาได้ดัดแปลงอนุโลมตามความต้องการของประชาชนด้วยการคิดเรื่องราว ในพระพุทธศาสนาว่าจะมีสิ่งใดที่พอจะแก้ไขได้ เพื่อสนองความเชื่อถือดังกล่าว มหายานได้คิดหลัก
“โพธิจิต” ขึ้น คือ การที่คนเราจะมุ่งไปสู่พุทธภูมิได้นั้น จำต้องบำเพ็ญพระโพธิญาณ คือ การกระทำตัวให้เป็นโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ และสิ่งจำเป็นที่สุดที่พระโพธิสัตว์ต้องปฏิบัติก็ได้แก่ความเมตตากรุณาในการ โปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ พระโพธิสัตว์จึงต้องสะสมบารมีต่าง ๆ ในแต่ละชาติเพื่อมุ่งหวังพุทธภูมิเป็นจุดหมายปลายทาง
ฉะนั้น เมื่อบุคคลใดเกิดความทุกข์ความเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ แทนที่จะกราบอ้อนวอนพระเจ้าของศาสนาพราหมณ์ให้ช่วย ก็เปลี่ยนมาเป็นบูชาขอให้พระโพธิสัตว์ช่วย เนื่องจากพระโพธิสัตว์ประกอบด้วยมหากรุณาอันไม่มีที่สิ้นสุด
๓.๑ การเน้นหนักเกี่ยวกับปรัชญา และมหากรุณาของโพธิสัตว์
มหายานนั้น มีปรัชญาชีวิตในการช่วยขนสัตว์โลกให้ข้ามพ้นสังสารทุกข์ โดยยึดหลักประจำใจอย่างสูงส่งอยู่ ๓ ประการ คือ
๐. หลักมหาปัญญา ในหลักการข้อนี้ ฝ่ายมหายานได้อธิบายหลักอนัตตาซึ่งเป็นคุณลักษณะพิเศษในพุทธศาสนาออกไป อย่างกว้างขวางลึกซึ่งมากพิสดารยิ่งกว่าในฝ่ายเถรวาทมหายาน เรียกว่า ศูนย์ตา แทนคำว่า อนัตตา ในส่วนปฎิบัติของบุคคลทางฝ่ายมหายาน ถือว่าบุคคลจะพ้นทุกข์ได้ ก็ด้วยการเข้าถึงศูนย์ตา ซึ่งมี ๒ ชั้น คือ บุคคลศูนยตาและธรรมศูนยตา บุคคล ศูนยตาได้แก่การละอัสมิมานะซึ่งทำให้บุคคลบรรลุอรหันต์ ส่วนธรรมศูนยตา ได้แก่การละ ความยึดถือแม้ในพระนิพพานซึ่งเป็นภูมิของพระโพธิสัตว์ชั้นสูง
๒. หลักมหากรุณา ได้แก่การ ตั้งโพธิจิตมุ่งพุทธภูมิ ไม่มุ่งเพียงอรหันต์ภูมิในทัศนะมหายานเห็นว่าอรหันต์ภูมิช่วยตนได้น้อย เพราะฉะนั้นจึงควรมุ่งพุทธภูมซึ่งในขณะที่ยังมิได้บรรลุต้องสร้างบารมีเพื่อ ช่วยสัตว์ ดังนั้น ทางฝ่ายมหายานจึงย่อทศบารมีลงเหลือ ๖ คือ
๒.๐ ทานปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องสละทรัพย์ อวัยวะและชีวิต เพื่อสัตว์โลกได้โดยไม่อาลัย
๒.๒ ศีลปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องรักษาศีลอันประกอบ ด้วยอินทรีย์สังวรศีล กุศลสังคหศีล ข้อ นี้ได้แก่การทำความดีสงเคราะห์สัตว์ทุกกรณี สัตว์สังคหศีลคือการช่วยให้พ้นทุกข์
๒.๓ กษานติปารมิตา พระโพธิสัตว์ต้องสามารถถอดทนต่อสิ่งกดดันเพื่อนโปรดสัตว์ได้
๒.๔ วิริยปารมิตา พระโพธิสัตว์ไม่ย่อท้อต่อพุทธภูมิ ไม่รู้สึกเหนื่อย หน่ายระอาในการช่วยสัตว์
๒.๕ ปรัชญาปารมิตา พระโพธิสัตว์จะต้องทำให้แจ้งในปุคคลศูนยตาและ ธรรมศูนยตา
๓. หลักมหาอุปาย คือ พระโพธิสัตว์จะต้องประกอบด้วยกุศโลบายนานัปการ ในการช่วยเหลือ ปวงสัตว์ ต้องประกอบด้วยไหวพริบปฏิภาณในการเข้าถึงอธิมุตติของปวงสัตว์เปรียบเหมือน นายแพทย์ผู้ฉลาดรู้จักวางยาให้ถูกโรคอาศั
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น